ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร whale.gif

             ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร จะแสดงถึง อำนาจหน้าที่ และโครงสร้างการบริหารระบบคุณภาพของ รพ. เพื่อให้มั่นใจว่า ระบบคุณภาพจะได้รับการเผยแพร่ ทำความเข้าใจและถือปฎิบัติโดยเจ้าหน้าที่ทุกคน เป็นการแสดงความมุ่งมั่นขององค์กร ที่มุ่งที่จะทำให้เกิดระบบคุณภาพ โดย มาตรฐาน ISO9002 ให้เกิดขึ้น โดยมีการกำหนด นโยบายคุณภาพ ( Quality Policy ) ของหน่วยงาน องค์กร ที่แสดงถึง ความตั้งใจ การสนับสนุน และ การรว่มมือในการก่อให้กิดระบบคุณภาพขึ้นมา ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น เป้าหมายของการทำระบบคุณภาพ นี้ขึ้นมาเพื่อ ความพึ่งพอใจสูงสุด ของผู้ใช้บริการ คำถามต่อมาจึงอยู่ที่ว่าสูงสุดนะแค่ไหน ? จะวัดอย่างไร ว่าพึงพอใจสูงสุดแล้ว จะมีคณะกรรมการในการดำเนินงานเป็นใครบ้าง โดยจะจัดแบ่งหน้าที่ในการทำงานเป็น คณะ ๆ ไป อันได้แก่

           1. ผู้อำนวยการ  fish06a.gif

                      เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดเกี่ยวกับเรื่องการยริกหา การกำหนดระบบคุณภาพ การจัดสรรทรัพยากร รวมทั้งการมอบหมายหน้าที่การทำงาน

                2. คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลfish05a.gif

                      เป็นคณะที่ปรึกษาและสนับสนุน ผู้อำนวยการ ในเรื่องต่าง ๆ เช่น การวางแผน การจัดสรรบุคคล การประเมินผลการปฏิบัติงาน

                3. คณะกรรมการบริหารระบบคุณภาพfish05b.gif

                      ทำหน้าที่วางแผนและดำเนินงานระบบคุณภาพ และพิจารณาตัดสินแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้านระบบคุณภาพ

                4. ผู้แทนฝ่ายบริหารคุณภาพfish05c.gif

                      เป็นบุคคลที่สำคัญมากในระบบ ISO เพราะต้องทำหน้าที่ในการจัดทำ และธำรงรักษาระบบคุณภาพ ติดตามให้มีการปฏิบัติ และรายงานผลการปฎิบัติ

                5. คณะกรรมการงานเอกสารระบบคุณภาพfish05d.gif

                       ชุดนี้จะทำหน้า ควบคุม ดูแล แจกจ่าย เอกสารในระบบคุณภาพ ให้ทั่วถึง

                6. คณะกรรมการเขียนเอกสารระบบคุณภาพfish07b.gif

                        ชื่อก็บอกอยู่แล้ว ว่ามีหน้าที่เขียน จัดทำเอกสารคุณภาพ ตามหลัก เขียนในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่เขียน

                7. หัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างานfish07a.gif

                        มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายคุณภาพ ควบคุมดูแล เจ้าหน้าที่ทั้งหมดให้รับผิดชอบคุณภาพของการบริการ

                8. คณะกรรมการตรวจติดตามระบบคุณภาพภายในfish08.gif

                       เป็นฝ่ายสืบสวน สอบสวน คณะนี้จะาตรวจสอบและรายงานผลว่า ระบบคุณภาพได้ถือปฎิบัติกันไหม ถ้าพบสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้องกำหนด ( Non conformity) เบาะ ๆ ก็ออกหมายเรียก เอ้ย ใบคำขอให้แก้ไขหรือป้องกัน (ใบ PAR Prevention action request) ถ้ามีผลต่อระบบคุณภาพมาก ก็แจกใบแดงให้ (ใบ CAR Corrective action request) แล้วต้องแก้ไขในตามระยะที่กำหนดด้วย ทางทีมนี้จะมาตรวจซ้ำอีกว่าทำไหม แก้ไขไหม ถ้าแก้ไขได้ผ่านก็จบ แต่ถ้าไม่ได้ ก็นำเรื่องเข้าสภา เอ้ยเข้ากรรมการบริหารระบบคุณภาพ เพื่อร่วมแก้ไข

                การจัดตั้งคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ก็ควรพิจารณาให้เหมาะสม เช่น ผู้ตรวจติดตามระบบคุณภาพ ก็ควรจะมีอาวุโสสักหน่อย ใจดี ใจเย็น เพราะคนไทย ไม่ค่ยชอบให้ใครมาตรวจสอบ หรือนิเทศเท่าไรนัก มักจะมองในแง่ negative ว่ามาจับผิด จึงต้องใช้คนที่ประมนีประนอมเก่ง เป็นที่รัก ที่เกรงใจ ของ จนท.มา หรือ กรรมการเขียนเอกสาร ก็ให้ จนท.ที่ปฎิยัติจุดนั้นมาเขียนเลย อย่างนี้เป็นต้น

                 จัดตั้งกรรมการกันเสร็จแล้ว ก็ เข้าสู่ข้อกำหนดต่อไปเลยครับผม

        house14b.gif       arrow11_R.gif